ทีมบาสเกตบอลไทย

ทีมบาสเกตบอลไทย
ทีมบาสเกตบอลไทย

ทีมบาสเกตบอลไทย หากได้ย้อนกลับไปประมาณ 5 ปีที่แล้ว มีสโมสรบาสเกตบอลทีมหนึ่งในไทย ได้พูดว่า “พวกเขาได้มีเป้าหมายจะเป็นเบอร์ 1 เอเชีย” ก็คงเป็นเรื่องที่น่าตลกและดูเป็นคำพูดที่เพ้อเจ้อ เพราะในความเป็นจริงแล้วระดับของบาสเกตบอลไทย ยังไม่สามารถก้าวพ้นข้ามอาเซียน จนได้มีคนกล่าวว่า วงการยัดห่วงบ้านเรา ล้าหลังกว่า ฟิลิปปินส์ เจ้าแห่งบาสเกตบอลอาเซียน อยู่ประมาณ 10 ปี

และนี่ยังไม่ได้รวมถึงประเทศจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และประเทศแถบตะวันออกกลาง ซึ่งมีวิวัฒนาการกีฬาบาสเกตบอลที่นำหน้าเราไปไกลหลายสิบปี และยิ่งเมื่อหันมองกลับมาที่เมืองไทย กีฬาบาสเกตบอล เป็นกีฬาที่ซบเซามานานหลายปี นับตั้งแต่หมดยุค “แว่น” สิริรัตน์ ยนต์โยธินกุล อดีตนักบาสสาวหล่อทีมชาติไทย

ในการแข่งขันลีกภายในประเทศ แทบจะไม่ได้รับความนิยมจากผู้ชมเลยสักนิด ถ้าหากจะมีใครมาลงทุนด้วยเงินมากกว่า 300 ล้าน เพื่อที่จะสร้างทีมบาสเกตบอลอาชีพไทยขึ้นมา ก็คงเป็นเรื่องที่ยากเลยทีเดียวและไม่น่าเกิดขึ้นได้อีกด้วย ด้วยบรรยากาศ และปัจจัยหลายๆด้านที่ไม่เอื้อเอาเสียเลย จนกระทั่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าคนที่ติดตามกีฬายัดห่วงอยู่เป็นประจำ หรือคนที่ไม่ค่อยได้ติดตาม ก็น่าจะเคยได้ยินชื่อของ “โมโน แวมไพร์” ผ่านหูไม่มากก็น้อย ในฐานะสโมสรบาสเกตบอลอาชีพความหวังใหม่ของประเทศไทย

ตั้งแต่สนามแข่งขันที่ทำให้ทุกคนที่เข้ามาสัมผัสบรรยากาศภายใน 29 “สเตเดียม” จึงต้องตกตะลึงกับสิ่งที่ปรากกฏ, การบริหารจัดการทีม, การใช้สื่อและการประชาสัมพันธ์ รวมถึงผลงานที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดอย่างมาก จนทำให้สโมสรที่พึ่งเกิดขึ้นใหม่แห่งนี้กลายเป็นที่รู้จักของคอบาสในอาเซียนไปแล้ว

ซึ่งรวมถึง ปณิธาน ของสโมสรที่มุ่งหวังอยากเป็น ทีมเบอร์ 1 ของทวีปเอเชีย ที่วันนี้ไม่ใช่เรื่องไกลเกินเอื้อมหรือเป็นแค่ฝันกลางวันอีกต่อไปแล้ว

การกำเนิดของค้างคาวอมตะ ทีมบาสเกตบอลไทย

ธุรกิจหลายๆอย่างที่ โมโน ทำ ต้องเกิดจากความชอบ ถึงจะลงมือ และการทำในสิ่งที่ชอบเป็นเรื่องสำคัญ และอยากจะพัฒนา ต่อยอดไปเรื่อย ๆ แต่ถ้าไม่ชอบวันหนึ่งก็คงรู้สึกเบื่อ “เราเริ่มต้นทำทีม โมโน แวมไพร์ ด้วยความชอบ ไม่ได้มองว่าการลงทุนหลักร้อยล้าน ในกีฬาบาสเกตบอล เป็นเรื่องที่มีโอกาสล้มเหลว”

เจย์ – จิรัญ รัตนะวิริยะชัย ผู้อำนวยการอาวุโส บริษัท โมโน สปอร์ตเอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด ได้ย้อนถึงจุดเริ่มต้นในการก่อตั้งสโมสร “โมโน แวมไพร์” ในปี 2014 นั้น เกิดขึ้นมาจากความรักของกลุ่มผู้บริหาร ที่มักชวนกันไปออกกำลังกายเล่นกีฬาต่าง ๆ เช่น กอล์ฟ, สควอช และ บาสเกตบอล พวกเขาชื่นชอบถึงขั้นได้บินไปดูงานในสโมสรต่างแดน และได้เข้าชมเกมการแข่งขัน NBA ถึงประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งก็ได้รับไอเดีย และได้รับแรงบันดาลใจดีๆกลับมา จนถึงขั้นตัดสินใจฟอร์มทีมและส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขัน ไทยแลนด์ บาสเกตบอล ลีก (TBL) ในฤดูกาลดังกล่าว ภายใต้ชื่อ “โมโน แวมไพร์” สื่อถึงทีมบาสเกตบอลที่สู้จนนาทีสุดท้ายและไม่ยอมแพ้ง่าย ๆ เปรียบดั่งแวมไพร์ที่ไม่มีวันตาย

บาสเกตบอล (NBA) ดูสนุกมาก แต่ได้พอกลับมาผู้บริหารก็ได้เริ่มคิดว่า ทำไมที่ประเทศไทยถึงยังไม่มีอะไรแบบนี้ และด้วยความรักที่ชอบทำกีฬาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงตัดสินใจสร้างสนามบาสเกตบอล และก่อตั้งทีมโมโน แวมไพร์ ขึ้นมา เพื่อส่งแข่ง TBL ดังนั้นจึงยึดมาตรฐานว่าต้องให้ได้แบบ NBA

โมโน แวมไพร์ ได้จัดการเนรมิตพื้นที่ที่เป็นป่า ข้างสตูดิโอของสถานีโมโน 29 มาสร้างสนามบาสเกตบอลที่ดูทันสมัย และได้รับมาตรฐานจาก FIBA (สหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ) งบก่อสร้างราว 200 ล้านบาท พื้นสนาม ถูกนำเข้ามาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ตรงตามมาตรฐานของ FIBA และ NBA โดยพื้นสนามของ 29 สเตเดียม เป็นพื้นสนามแบบ 2 ชั้น ทำให้สนามของ โมโน แวมไพร์ สามารถรองรับแรงกระแทกได้ดีกว่า และช่วยลดอาการบาดเจ็บของนักกีฬาได้อีกด้วย ระบบไฟรอบสนาม ที่ส่องสว่างได้มาตรฐาน FIBA รวมถึงจอ LED ขนาดใหญ่ทั้ง 4 มุม ที่ให้ความรู้สึกเหมือนกำลังอยู่ในสนามบาสเกตบอลต่างประเทศ เก้าอี้ที่นั่งผู้ชมมีหมายเลขติดและสามารถรองรับผู้ชมได้ 1,500 คน

การสร้างทีมแบบมืออาชีพ

ฤดูกาล 2015 โมโน แวมไพร์ ทำการเปลี่ยนแปลงทีม ดึงเอาโค้ชฝีมือดีอย่าง ดักลาส มาร์ตี ที่มีประสบการณ์ในการเล่น บาสเกตบอล รวมถึงการทำงานโค้ชให้กับหลาย ๆทีม ทั้งในยุโรป และอเมริกา เข้ามาทำหน้าที่เป็น เฮดโค้ช นอกจากนี้ โมโน แวมไพร์ ยังได้เสริมผู้เล่นไทย และต่างชาติฝีมือดี ดีกรีผ่านระบบการดราฟท์ NBA หรืออดีตผู้เล่น NBA เข้ามาทำให้แข็งแกร่ง จากทีมน้องใหม่ไฟแรงจาก “ค้างคาวอมตะ” ที่สามารถเดินหน้ากวาดแชมป์ ไทยแลนด์ บาสเกตบอล ลีก 3 สมัยติดต่อกัน ในฤดูกาล 2015-2017

จิรัญ รัตนะวิริยะชัย ผู้บริหารทีมโมโน แวมไพร์ เปิดเผยถึงเบื้องหลังความสำเร็จ ที่สโมสรทำได้ โดยเริ่มต้นจากทำให้นักกีฬาในสังกัด สามารถอยู่ได้ด้วยการเล่นบาสเกตบอล อาชีพ แทนที่จะต้องไปทำงานประจำ และเล่นบาสเป็นงานอดิเรก ในขณะเดียวกัน โมโน แวมไพร์ ยังสร้างปรากฏการณ์จากลีกที่แทบจะไม่มีคนดู ให้กลายเป็นกีฬาที่เต็มไปด้วยแฟนบาสเกตบอล ที่ต้องซื้อตั๋วเข้ามาชมเกม จนต้องมีบางแมตช์ ที่ต้องตั้งจอให้แฟนคลับ ที่เข้าสนามไม่ได้ ได้ชมเกมด้านนอกสนามอีกเช่นกัน

คาแรกเตอร์ของทีม ส่งผลให้ “โมโน แวมไพร” มีแฟนคลับเพิ่มขึ้น ทั้งที่เข้ามาดูในสนาม และรับชมผ่านการถ่ายทอดสดทางทีวี ที่ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย ยังรวมถึงในระดับภูมิภาคอาเซียน ที่พวกเขาเริ่มที่จะส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขัน ASEAN Basketball League (ABL) ฤดูกาล 2016-2017 เป็นต้นมา และได้ตำแหน่งรองแชมป์มาครอง ในซีซั่นต่อมา

พวกเราจะเป็นเบอร์ 1 ในเอเชีย

การเจริญเติบโตของ โมโน แวมไพร์ นอกจากจะทำให้ บรรยากาศในลีก TBL คึกคักขึ้น เพราะสโมสรต่าง ๆ หันมาลงทุนมากขึ้น และพยายามพัฒนาทีมเพื่อต่อกรกับพวกเขา ส่งผลให้บรรยากาศในวงการบาสเกตบอลไทยเริ่มคึกคักขึ้นบ้าง จากที่ซบเซามานานหลายปี ด้วยความพร้อมของ “โมโน แวมไพร์” ก็มีส่วนทำให้ ค้างคาวอมตะ ได้รับเลือกทำหน้าที่ เป็นเจ้าภาพ ศึกบาสเกตบอลชิงแชมป์สโมสรเอเชีย 2018 (FIBA Asia Champions Cup) ซึ่งถือเป็นย่างก้าวที่ยิ่งใหญ่ของวงการยัดห่วงของประเทศไทยเลยทีเดียว ในการจัดการแข่งขันรายการระดับทวีป

อย่างไรก็ดี ประเทศไทย ยังมีข้อจำกัดสำหรับ กีฬาบาสเกตบอล ที่มีทรัพยากรให้ใช้งานน้อย นอกเหนือจากเรื่องการพัฒนาสโมสร ในสนามแล้ว โมโน แวมไพร์ ยังมักหาเวลาไปทำกิจกรรมคืนกำไรแก่สังคม ด้วยการเปิดสนามต้อนรับ สถานศึกษา, ทีมบาสเกตบอลตามต่างจังหวัด เข้ามาเยี่ยมชมรังเหย้าที่ทันสมัย รวมถึงออกไปจัดกิจกรรมฝึกสอนบาสเกตบอล ตามสถานศึกษา และปรับปรุงสนามบาสฯ ทำแป้นบาส เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็ก ๆ เยาวชนรุ่นใหม่

สำหรับสโมสรกีฬาที่เพิ่งก่อตั้งมาได้แค่ 4 ปี การได้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนและสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับวงการกีฬา ก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องน่าภาคภูมิใจ มากกว่าการได้รับถ้วยรางวัล แชมป์ใด ๆ ที่ทีมกีฬาพึงกระทำได้ อย่างน้อยที่สุด เมล็ดพันธุ์ต่าง ๆ ที่สโมสรได้สร้างไว้ สะท้อนให้เห็นว่า แม้ในวันที่ไม่มีคนดูในลีก แต่ถ้ามีการบริหารจัดการที่ดี และใส่ใจความตั้งใจ คนล้นสนามไม่ใช่เรื่องไกลเกินไป เช่นเดียวกับเป้าหมายที่อาจดูห่างไกล แต่พวกเขาก็พร้อมเดินฝ่าไปให้ระยะทางสั้น

ขอบคุณที่มาจาก www.ufa877.com